Sustainability ในธุรกิจโลจิสติกส์ ระบบ TMS ช่วยลด Carbon ได้ยังไง ?

Sustainability ในธุรกิจโลจิสติกส์ ระบบ TMS ช่วยลด Carbon ได้ยังไง

ในปัจจุบันความยั่งยืนกับการรักษาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น ธุรกิจโลจิสติกส์เองก็จะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ด้วยการหาวิธีลดผลกระทบที่เกิดจากการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะการลดการปล่อยคาร์บอน (Carbon Footprint) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักที่หลายองค์กรกำลังให้ความสำคัญ ดังนั้นวงการโลจิสติกส์จึงเริ่มมีการนำระบบการบริหารจัดการขนส่งอย่าง TMS เข้ามาพัฒนาการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการวางแผนเส้นทางการขนส่ง การลดการใช้พลังงานโดยสิ้นเปลือง ลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง การเลือกใช้พาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนอีกด้วย 

ในภาคธุรกิจโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ การมุ่งมั่นทำธุรกิจให้ยั่งยืน ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจในการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นการสร้างคุณค่าในระยะยาวให้เติบโตไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมในระยะยาวได้อย่างมั่นคงด้วยนั่นเองครับ ดังนั้นบทความนี้จะพามาเจาะประเด็น Sustainability ในธุรกิจโลจิสติกส์กันครับว่าเจ้าระบบ TMS จะช่วยลด Carbon ได้ยังไงบ้างครับ

Sustainability คืออะไร และทำไมโลจิสติกส์ต้องให้ความสำคัญ

ในปัจจุบัน Sustainability หรือความยั่งยืน กลายเป็นประเด็นสำคัญที่หลายธุรกิจต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่การขนส่งสินค้ามีการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การนำแนวคิดความยั่งยืนเข้ามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจโลจิสติกส์ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อโลก แต่ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการพัฒนาแบบยั่งยืน

  • Sustainability คืออะไร 

Sustainability หรือ ความยั่งยืน ซึ่งสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์หมายถึง การดำเนินกิจกรรมขนส่งสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขนส่ง ไม่ว่าจะด้านการลดการปล่อยมลพิษ การใช้พลังงานทางเลือก และการปรับปรุงกระบวนการขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อลดระยะทาง ลดระยะเวลา หรือแม้แต่การลดการใช้พลังงานในกระบวนการขนส่งทั้งหมด 

ในภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ความยั่งยืน ไม่แค่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุนในระยะยาว เพราะใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการแสดงมีความรับผิดชอบของธุรกิจ สร้างความประทับใจ ความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือในตลาดที่มีการตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมในสายตาของลูกค้า และผู้ร่วมธุรกิจมากขึ้นด้วย 

  • ผลกระทบของโลจิสติกส์ต่อสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก แต่การขนส่งสินค้าต่าง ๆ ก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยเลยเช่นกันครับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงาน การปล่อยมลพิษ หรือการสร้างขยะ ซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นต้น ดังนั้นมาดูกันครับว่าผลกระทบของโลจิสติกส์ต่อสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2)

ยานพาหนะที่ใช้ในกระบวนการขนส่ง ไม่ว่าจะรถบรรทุก เรือ หรือเครื่องบิน มักใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • การใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ

การขนส่งสินค้าเป็นการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งการใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงมาจากแหล่งพลังงานที่ไม่หมุนเวียน และทำให้เกิดมลพิษ นอกจากนี้การผลิตพาหนะและสิ่งอำนวยความสะดวกในโลจิสติกส์ยังต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น โลหะ และวัสดุอื่น ๆ

  • การสร้างมลพิษทางอากาศและเสียง

การขนส่งที่ใช้เครื่องยนต์ภายใน เช่น รถยนต์และเครื่องบิน จะปล่อยสารพิษอย่างไนตรัสออกไซด์ (NOx) และฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการปล่อยมลพิษเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่เมืองใหญ่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน

นอกจากนี้การขนส่งยังสร้างมลพิษทางเสียงจากเครื่องจักรและการขับขี่ที่มีเสียงดังในบริเวณพื้นที่ที่เกี่ยวข้องอีกด้วยครับ

  • การใช้ที่ดินและการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

การก่อสร้างขยายทางหลวง ท่าเรือ สนามบิน และโกดังต่าง ๆ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า ต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและระบบนิเวศน์ การขยายพื้นที่ใช้สอยเหล่านี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ธรรมชาติ

  • ขยะและบรรจุภัณฑ์

การขนส่งสินค้ามักจะต้องใช้บรรจุภัณฑ์จำนวนมากสำหรับการขนส่ง  ซึ่งเป็นการสร้างขยะและของเสียที่อาจไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของขยะในที่ฝังกลบและการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไป

เมื่อธุรกิจโลจิสติกส์เติบโตขึ้นความท้าทายในการแก้ปัญหาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การปรับปรุงกระบวนการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นเรื่องที่ธุรกิจต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญเพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต เช่น การเลือกใช้พาหนะที่ประหยัดพลังงาน หรือการวางแผนเส้นทางการขนส่งที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Sustainability หรือความยั่งยืน กลายเป็นประเด็นสำคัญที่หลายธุรกิจต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่การขนส่งสินค้ามีการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

  • กฎหมายและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจต้องปฏิบัติตาม

การปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจโลจิสติกส์ต้องให้ความใส่ใจ เนื่องจากการละเมิดกฎหมายเหล่านี้อาจส่งผลให้ธุรกิจเผชิญกับ ค่าปรับหรือข้อร้องเรียนจากหน่วยงานรัฐบาล มาดูกันว่ากฎหมายและมาตรการที่ธุรกิจโลจิสติกส์ต้องปฏิบัติตามมีอะไรบ้างครับ

  • กฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษ 
    • พระราชบัญญัติการควบคุมมลพิษทางอากาศ กำหนดข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะต่าง ๆ เช่น รถบรรทุกและเครื่องบิน โดยมีการกำหนดมาตรฐานการปล่อยก๊าซ CO2 และสารมลพิษอื่น ๆ เพื่อลดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ
    • พระราชบัญญัติการควบคุมมลพิษทางน้ำ สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ เช่น การขนส่งทางเรือ หรือการขนส่งที่มีการใช้น้ำในการทำงาน จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการควบคุมการปล่อยมลพิษทางน้ำ
  • กฎหมายเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

พระราชบัญญัติควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลายประเทศมีข้อบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อย CO2 ในภาคขนส่ง เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งต้องรายงานการปล่อยก๊าซ และอาจต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อลดการปล่อย

  • มาตรการด้านการจัดการขยะและบรรจุภัณฑ์
    • กฎหมายการกำจัดขยะและการรีไซเคิล

มาตรการด้านการจัดการขยะ เช่น กฎหมายห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ หรือการบังคับให้รีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ เช่น พลาสติกที่ใช้ในการบรรจุสินค้าจะช่วยลดการสร้างขยะในกระบวนการขนส่ง

    • มาตรการลดการใช้พลาสติก

หลายประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายที่จำกัดการใช้พลาสติก เช่น การห้ามใช้ถุงพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกบางประเภท ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์จะต้องหาวิธีการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

พระราชบัญญัติการอนุรักษ์พลังงาน กฎหมายนี้กำหนดให้ธุรกิจที่ใช้พลังงานจำนวนมากต้องมีมาตรการในการประหยัดพลังงาน เช่น การใช้พาหนะที่ประหยัดพลังงานในกระบวนการขนส่ง

  • กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเสียงรบกวน

พระราชบัญญัติควบคุมเสียงรบกวน กฎหมายนี้มักใช้กับยานพาหนะที่มีเสียงดังจากการขนส่ง เช่น รถบรรทุกหรือเครื่องบิน โดยกำหนดขีดจำกัดของเสียงรบกวน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบผู้คนในพื้นที่

  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่และการใช้ที่ดิน

กฎหมายการอนุรักษ์พื้นที่ธรรมชาติ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างทางหลวงหรือท่าเรือ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการปกป้องพื้นที่ธรรมชาติและระบบนิเวศ เช่น การหลีกเลี่ยงการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์

  • กฎหมายการรายงานข้อมูลสิ่งแวดล้อม

การรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กฎหมายบางประเทศกำหนดให้ธุรกิจต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

แน่นอนว่าการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจโลจิสติกส์หลีกเลี่ยงการโดนค่าปรับหรือฟ้องร้อง แต่ยังช่วยส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว และยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Sustainability   หรือ ความยั่งยืน ซึ่งสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์หมายถึง การดำเนินกิจกรรมขนส่งสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขนส่ง ไม่ว่าจะด้านการลดการปล่อยมลพิษ การใช้พลังงานทางเลือก

แนวทาง Green Logistics ที่ช่วยลด Carbon Emission

โลจิสติกส์สีเขียว หรือ Green Logistics เป็นการบริหารจัดการกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดผลกระทบจาก Carbon Emission ต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มลพิษทางอากาศได้มากที่สุด 

ซึ่งแนวทางคือการใช้พลังงานที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด จะช่วยลด Carbon Emission ปัญหาภาวะโลกร้อน และการลดปริมาณขยะ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ให้ได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้า และสังคมมากขึ้น เพราะยุคปัจจุบันผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้อีกด้วย

นอกจากโลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) จะเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย ที่ช่วยให้ธุรกิจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากขึ้น เริ่มจากการลดต้นทุน ด้วยการเลือกใช้เส้นทางอย่างชาญฉลาด ให้เหมาะสมกับการจัดส่ง หรือการใช้ยานพาหนะที่ประหยัดพลังงาน ประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในด้านน้ำมัน และบำรุงรักษา อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี สำหรับธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สร้างความประทับใจให้ลูกค้ารู้สึกดีและอยากสนับสนุนแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม 

นอกจากนั้นการใช้ Green Logistics ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการลดมลพิษ ทั้งยังช่วยให้การขนส่งเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว คุ้มค่า และได้ผลดีทั้งธุรกิจ ทั้งโลกนั่นเองครับ

ระบบ TMS ช่วยลด Carbon ได้อย่างไร?

ระบบ TMS  หรือบริหารจัดการการขนส่ง Transportation Management System เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยบริหารจัดการกระบวนการขนส่งและโลจิสติกส์ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่สามารถช่วยให้ธุรกิจก้าวเข้าสู่การดำเนินงานควบคู่ไปกับการลด Carbon ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุงการจัดการการขนส่งในหลายด้าน ดังนี้

  • การวางแผนเส้นทางอย่างชาญฉลาด 

ด้วยการจัดตารางการขนส่งจาก TMS เพื่อจัดตารางการขนส่งให้สอดคล้องกับปริมาณสินค้าและทรัพยากรที่มีอยู่ ช่วยวิเคราะห์และเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุด ทำให้สามารถใช้รถบรรทุกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดจำนวนเที่ยวรถเปล่าโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังลดระยะทาง ลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง 

นอกจากนั้นยังช่วยเลือกเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด ซึ่งการหลีกเลี่ยงเส้นทางที่รถติดจะช่วยลดเวลาในการเดินทาง ลดการเผาผลาญเชื้อเพลิง และลดมลพิษทางอากาศ 

  • ลด Carbon Emission 

ด้วยการเลือกใช้ยานพาหนะที่เหมาะสมกับงานขนส่ง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ยานพาหนะที่ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ หรือรถบรรทุกที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็น

  • การบริหารจัดการคลังสินค้า

ด้วยการกำหนดตำแหน่งในการจัดเรียงพัสดุแต่ชิ้นให้เหมาะสม เพื่อลดพื้นที่ว่างโดยไม่จำเป็น ลดการค้นหาสินค้า และลดการค้างสต็อค เป็นการบริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการสูญเสียสินค้า และลดปริมาณขยะ

  • ติดตามผลการดำเนินงาน 

เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงาน จากข้อมูลจากรายงานช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสร้างรายงานเพื่อการวิเคราะห์ แสดงผลการดำเนินงานด้าน Green Logistics เช่น ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ ปรับปรุงให้ประหยัดพลังงานและลดการปล่อยมลพิษ

รวมไปถึงวิเคราะห์พฤติกรรมการขับขี่ของคนขับ เช่น ความเร็วในการขับขี่ การเร่งเครื่อง และการเบรก เพื่อเคร่งครัดให้มีการขับขี่ที่ประหยัดเชื้อเพลิง

  • ติดตามและควบคุมการขนส่งแบบเรียลไทม์ 

การติดตามและควบคุมการขนส่งแบบเรียลไทม์ช่วยให้รู้สถานะการขนส่งในเวลาจริง ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของรถ ข้อมูลการขนส่ง หรือเวลาในการส่งมอบสินค้า และยังสามารถช่วยปรับเปลี่ยนเส้นทาง หากเกิดปัญหาระหว่างทางได้ทันทีอย่างรวดเร็ว ให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดเวลาการขนส่งและค่าใช้จ่ายต่างๆ ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน และทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าตรงเวลา เพิ่มความพึงพอใจในการบริการได้มากขึ้น

Case Studies : บริษัทโลจิสติกส์ที่ใช้ TMS ลด Carbon ได้จริง

หลายบริษัทโลจิสติกส์ทั่วโลกได้นำระบบ Transportation Management System (TMS) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง ลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งหลังนำมาใช้ก็ประสบความสำเร็จในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขอยกตัวอย่าง Case Studies ดังนี้

หนึ่งในผู้นำด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นแนวหน้าระดับโลกที่ใช้ระบบ TMS ในการจัดการขนส่ง เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน โดยการนำมาใช้ในในการวางแผนเส้นทางขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถลดระยะทางการขนส่ง และการใช้เชื้อเพลิงได้มากขึ้น 

แน่นอนว่า DHL ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งได้ถึง 10% ต่อปี จากการใช้ TMS และการวางแผนเส้นทางอัจฉริยะ ลดระยะทางที่ไม่จำเป็นการรวมการขนส่งหลายรายการในเที่ยวเดียว เพื่อลดการใช้รถยนต์

DHL ได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อย CO2 เพิ่มขึ้นจากการขนส่งภายในปี 2030 โดยมีการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการคำนวณเส้นทางการขนส่งที่ดีที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานยานพาหนะ ลดจำนวนเที่ยวเปล่า

บริษัทโลจิสติกส์และขนส่งระดับโลก ที่มีบริการหลักเกี่ยวกับการขนส่งพัสดุให้ลูกค้าทั่วโลกทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ โดย UPS ได้ใช้ TMS และเทคโนโลยี GPS ในการติดตาม จัดการเส้นทางการขนส่งแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานจากการขนส่ง

UPS สามารถลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งได้กว่า 1 ล้านตันต่อปี ด้วยการปรับเส้นทางขนส่ง วิเคราะห์และปรับปรุงเส้นทางขนส่งให้สั้นที่สุด และลดการใช้พลังงานจากรถขนส่ง และการใช้งานยานพาหนะที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

บริษัทขนส่งทางทะเลใหญ่ระดับโลก เป็นบริษัทเดินเรือสัญชาติเดนมาร์ก ที่ให้บริการขนส่งทั้งทางทะเล ทางบก และทางอากาศ ซึ่งการใช้ TMS ช่วยให้ Maersk ลดต้นทุนการขนส่งและการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการขนส่ง ด้วยการวางแผนเส้นทางที่ดีที่สุด การจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

และในอนาคต Maersk ได้ตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซ CO2 ให้ได้มากขึ้นภายในปี 2030 โดยจะดำเนินการขนส่งอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

Sustainability ในยุคที่ทุกคนเริ่มให้ความสำคัญความยั่งยืนมากขึ้น การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เองก็ไม่พลาดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ไปด้วยกัน

เทรนด์และเทคโนโลยี Sustainability ที่ต้องจับตามอง

ในยุคที่ทุกคนเริ่มให้ความสำคัญกับ Sustainability หรือความยั่งยืน มากขึ้น การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เองก็ไม่พลาดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ไปด้วยกัน ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง มาดูกันเทรนด์และเทคโนโลยีที่ควรจับตามองในด้าน Sustainability มีอะไรบ้าง

  • EV Trucks และพลังงานสะอาด

การใช้ รถบรรทุกไฟฟ้า (EV Trucks) ในการขนส่งสินค้าเริ่มกลายเป็นที่นิยมและมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่ง 

EV Trucks หรือรถบรรทุกไฟฟ้า ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันหรือดีเซลในการขับเคลื่อน ช่วยลดการใช้พลังงานจากน้ำมัน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศ ทำให้การขนส่งสินค้าประหยัดพลังงานมากขึ้น และยังเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นทางเลือกที่ทำให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เติบโตยั่งยืนมากขึ้น

ส่วนพลังงานสะอาด หรือการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) หรือพลังงานลม (Wind) ในการชาร์จ EV Trucks เป็นอีกหนึ่ง Solution ที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการขนส่ง ก็จะยกระดับการใช้พลังงานสะอาดในภาคการขนส่งได้นั่นเองครับ 

ซึ่งหลายคนที่ได้ติดตามข่าวอาจได้เห็นค่ายรถยักษ์ใหญ่ได้ออกมาเปิดตัวกันบ้างแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น รถบรรทุกไฟฟ้าของ Tesla ที่มีระยะทางขับขี่ที่ยาวนานและสามารถลดการปล่อยมลพิษได้ และอีกเจ้าอย่าง Volvo ที่กำลังพัฒนา EV trucks ที่เหมาะสำหรับการขนส่งระยะสั้นและระยะกลาง 

สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ ทั้ง AI และ IoT เป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง การจัดการระบบโลจิสติกส์ มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกาทำงานและลดต้นทุน ในการนำ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะสภาพการจราจร สภาพอากาศ และข้อมูลการขนส่งก่อนหน้า เพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยลดระยะทางในการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน การปล่อยมลพิษจากการขนส่ง อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุน

IoT (Internet of Things) หรือที่รู้จักกันว่าเป็นอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง ซึ่งใช้ในการติดตามขนส่งแบบเรียลไทม์ นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบข้อมูลแบบ คลาวด์ หรือ แพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อทำการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และสามารถติดตามตำแหน่งของสินค้าหรือรถขนส่งได้แบบเรียลไทม์เลยนั่นเอง 

การนำ AI และ IoT มาใช้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง และการจัดการพลังงานเท่านั้น แต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการลด Carbon Footprint โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดการปล่อยมลพิษ ประหยัดพลังงาน สร้างความยั่งยืนในระยะยาว ขณะที่พัฒนาความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปพร้อมกันอีกด้วย

ระบบ TMS เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยลด Carbon Footprint ในวงการธุรกิจโลจิสติกส์ เพราะมันช่วยในการวางแผนเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงาน ลดระยะทางการเดินทางที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังสามารถติดตาม ปรับปรุง การใช้ทรัพยากรในระบบขนส่งได้แบบเรียลไทม์ เช่น การใช้รถบรรทุกไฟฟ้า (EV Trucks) หรือการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดผ่าน AI และ IoT จึงไม่ใช่แค่ช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ดังนั้นการใช้ TMS ในธุรกิจโลจิสติกส์ไม่เพียงแค่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่ง แต่ยังทำให้ธุรกิจสามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ลดการปล่อยมลพิษ และสนับสนุนการเติบโตของวงการอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า